การห้ามการรณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ ของ การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550

มาสคอต "มนุษย์ไฟเขียว" สนับสนุนการรับร่างรัฐธรรมนูญโฆษณาของสสร.ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ให้รับร่างรัฐธรรมนูญโฆษณาที่เว็บไซต์กระปุกดอตคอม ให้ปฏิเสธการรับร่างรัฐธรรมนูญไทยแวร์ดอตคอม ร่วมรณรงค์ด้วยการเปลี่ยนโลโก้เว็บไซต์

ต้นเดือน กรกฎาคม 2550 สังศิต พิริยะรังสรรค์ หนึ่งในสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นไปได้ว่าจะห้ามการรณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี[4]

การห้ามดังกล่าวถูกต่อต้านจาก องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ Asian Human Rights Commission (AHRC) โดย AHRC ได้กล่าวว่า "กฎหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์อย่างชัดเจนที่จะ ข่มขู่และปิดปากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของรัฐบาล ถึงจะถูกดัดแปลงแก้ไขให้สามารถรณรงค์ แบบกล่าวแต่เพียงข้อเท็จจริงก็ตาม"[3]

ในเดือน กรกฎาคม 2550 กลุ่มตำรวจได้ยึดโปสเตอร์ที่มีข้อความระบุว่า "โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผิดกฎหมาย" ซึ่งครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ยอมรับว่าเป็นเจ้าของ[5] อย่างไรก็ตาม พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกกองทัพบก และ โฆษกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คมช. ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า เมื่อทหารพบโปสเตอร์ดังกล่าวจึงนำไปแจ้งให้ตำรวจทราบ และเมื่อตำรวจสอบถามว่าใครเป็นเจ้าของก็ไม่มีใครแสดงตัวเป็นเจ้าของแต่อย่างใด ดังนั้น จึงได้นำเอกสารไปตรวจสอบว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เมื่อไม่พบว่าผิดข้อกฎหมายใดก็พร้อมที่จะคืนเอกสารให้ ถ้ามีคนมาแสดงตัวเป็นเจ้าของ[6]

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ[7]ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ได้ระบุว่าความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี สำหรับผู้ที่กระทำการดังนี้

  • ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  • ให้ เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่น อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง
  • หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียง หรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
  • เปิด ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพ ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ นำไป หรือขัดขวางการส่งซึ่งหีบบัตรออกเสียงหรือบัตรออกเสียง เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย

พลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งให้กรมการขนส่งทางบกไปตรวจสอบรายละเอียดด้านกฎหมายว่าผู้ขับรถแท็กซี่ติดสติกเกอร์รณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญบนรถแท็กซี่ สามารถทำได้หรือไม่ ขณะที่นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ รองอธิบดีกรมขนส่งทางบก กล่าวว่าการติดสติกเกอร์โฆษณาต่าง ๆ บนรถแท็กซี่ถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติโฆษณา เนื่องจากกฎหมายห้ามไม่ให้รถแท็กซี่ติดโฆษณาใด ๆ ยกเว้นมีความจำเป็นกรณีพิเศษก็สามารถทำได้ แต่ต้องทำเรื่องขอไปที่กรมการขนส่งทางบกก่อน[8][9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 http://asiasentinel.com/index.php?option=com_conte... http://www.bangkokbiznews.com/nws/scripts/hotnewsk... http://www.bangkokpost.com/News/14Aug2007_news16.p... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://pages.citebite.com/g2a0n5v6h0ksu http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?new... http://nationmultimedia.com/breakingnews/read.php?... http://www.nationmultimedia.com/2007/07/06/politic... http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post... http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/pop...